อ่าวประจวบ

อ่าวประจวบ
จังหวัดประจวบ มีชายหาดยาวตลอดทั้งจังหวัด ตั้งแต่อำเภอหัวหิน จนถึงอำเภอบางสะพานน้อย และในอำเภอเมืองมีลักษณะเด่นคือ ชายหาดประกอบไปด้วยอ่าวสามอ่าวคือ อ่าวน้อย อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว

อ่าวประจวบมีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร โดยอยู่ระหว่างเขาตาม่องล่าย และเขาล้อมหมวก
อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
ด้วยความยาวของอ่าวประจวบนี้เองทำให้พบเห็นความเป็นอยู่และวิถีชีวิตอันหลากหลาย ของคนในพื้นที่ ตั้งแต่หมู่บ้านขาวประมง ร้านค้า โรงแรมที่พัก หน่วยงานราชการ ตลอดจนสวนสาธารณะและ ที่พักผ่อนหย่อนใจ
อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
เกาะในอ่าวประจวบ

เกาะแรด เป็นสถานที่ตั้งของกระโจมไฟชื่อ"วชิรรุ่งโรจน์" ซึ่งพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชทานราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กระทรวงทหารเรือในขณะนั้นนำมาสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2486

เกาะหลัก เป็นสถานที่ตั้งของสถานีวัดระดับน้ำทะเลขึ้น-ลง อยู่ในความรับผิดขอบของกองทัพเรือและ เป็นสถานที่ที่ใช้เป็นจุดเริ่มในการวัดระดับความสูงของแผ่นดินและภูเขาโดยการเปรียบเทียบจากระดับน้ำทะเล ระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามันอยู่ในความรับผิดขอบของกรมแผนที่ทหาร

เกาะไหหลำ เป็นสถานที่ประดิษฐานของศาลพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย ซึ่งผู้มีจิตศรัทธาได้สร้างขึ้นนานแล้ว อยู่ในเขตความรับผิดของของกองบิน 5 สามารถเดินเท้าไปถึงที่เกาะได้เมื่อเวลาน้ำลง

อ่าวประจวบ

นอกจากนี้ยังมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นที่ตั้งของสถานีวัดระดับน้ำและหมุดระดับหมุดแรกของประเทศไทยด้วย

เกาะหลัก
ที่ตั้งสถานีวัดระดับน้ำถาวรและหมุดระดับหมุดแรก ของประเทศไทย
ประวัติการตรวจวัดระดับน้ำในประเทศไทย
การตรวจระดับน้ำในประเทศไทยเริ่มมีบันทึกไว้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยการว่าจ้างชาวยุโรปชื่อ มิสเตอร์ มาสเตอร์ (Mr.Master) เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2453 ให้ทำการสร้างสถานีวัดระดับน้ำแบบถาวรขึ้น ที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในตำบลที่ละติจูด 99 องศา 46 ลิปดา ตะวันออก โดยสร้างเสร็จในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เริ่มใช้เครื่องมือเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 และทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลขึ้น - ลง อย่างต่อเนื่อง

จนถึงเดือนเมษายน พุทธศักราช 2454 รวม เวลาตรวจวัดประมาณ 6 เดือน จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ซึ่งถือเป็นเส้นเกณฑ์หนึ่งเรียกว่าระดับทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) และกำหนดให้ระดับทะเลปานกลางมีค่าเป็นศูนย์

จากเส้นเกณฑ์ดังกล่าวและได้ทำการโยงถ่ายค่าไว้ที่หมุดระดับชายฝั่ง ของเกาะหลัก ซึ่งสร้างเป็นรอยบากบนหินทรายและให้ชื่อหมุดระดับนี้ว่า BMA มีค่าสูงกว่าระดับทะเลปานกลางที่ได้คำนวณไว้ 1.4439 เมตร ซึ่งหมุดนีถือว่าเป็นหมุดระดับแรกที่กำหนดให้เป็นเส้นเกณฑ์มาตรฐาน ในการโยงระดับความสูงของประเทศไทย

อ่าวประจวบ
อ่าวประจวบ
กำเนิดระดับทะเลปานกลางมาตรฐานของประเทศไทย

หลังจากการจัดทำหมุด BMA แล้ว การจตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะหลักยังดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2458 รวมระยะเวลาตรวจวัด 5 ปี จึงได้มีการนำเอาค่าระดับน้ำที่บันทึกได้มาคำนาณหาค่าเฉลี่ยใหม่อีกครั้ง ผลที่ได้ปรากฏว่าระดับทะเล ปานกลางใหม่ต่ำกว่าเดิม 0.0038 เมตร ค่าของหมุด BMA จึงเปลี่ยเป็นสูงกว่าระดับทะเลปานกลางที่เกาะหลัก 1.4477 เมตร ระดับทะเลปานกลางใหม่นี้ ได้ใช้เป็นระดับทะเลปานกลาง ของประเทศไทย และจากหมุด BMA นี้ กรมแผนที่ทหารกองบัญชาการ ทหารสูงสุด ได้ทำการโยงระดับถ่ายค่าไปยังหมุดระดับต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อใช้ เป็นพื้นเกณฑ์ ในงานสำรวจแผนที่ทั้งบนบกและ ในทะเล งานวิศวกรรมชายฝั่ง งานก่อสร้างและอื่นๆ หลังจากปีพุทธศักราช 2458 ได้ยกเลิกการตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และไม่มีการตรวจวัดระดับน้ำที่อื่นๆอีก
อ่าวประจวบ
การตรวจวัดระดับน้ำหลังปี 2458

ในปีพุทธศักราช 2482 การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มการตรวจวัดระดับน้ำ ที่เกาะหลักขึ้นมาใหม่ โดยสร้างเรือนสถานีบริเวณชายฝั่งเกาะหลักที่ละติจูด 11 องศา 47 ลิปดา 42 พิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 99 องศา 58 ลิปดา 58 ฟิลิปดา ตะวันออก โดยมี เรือเอก สนิท มหาคีตะ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เป็นผู้อำนวยการสร้าง และติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำตราอักษร A.OTT หมายเลข 2841 ซึ่งจัดซื้อจากบริษัท A.OTT Krmpten ประเทศเยอรมันนีในราคา 548.17 บาท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2481โดยสร้างสถานีวัดระดับน้ำเสร็จเรียบร้อย และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2482 พร้อมกับโอนให้อยู่ในความดูแลของกองสมุทรศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หลังจากนั้นได้มีการซ่อมปรับปรุงตัวเรือนสถานี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2491 และวันที่ 14 กรกฎาคม พุทธศักราช 2504

ต่อมาได้สร้างเรือนสถานีใหม่ทดแทนของเดิม เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พุทธศักราช 2522 และติดตั้ง เครื่องวัดระดับน้ำชนิดทำงานด้วยการเปลี่ยนแปลงความกดดันน้ำ (Pressure Tide Gauge) เพิ่มอีกระบบหนึ่งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2548

อ่าวประจวบ

สถานีวัดระดับน้ำเกาะหลักถือเป็นสถานีวัดระดับน้ำ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เพราะนอกจากจะนำข้อมูลมาใช้คำนวณหาระดับทะเลปานกลาง เพื่อเป็นพื้นเกณฑ์ระดับของประเทศแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์การเริ่มต้นงานระดับน้ำของไทย และเป็นสถานีวัดระดับน้ำที่มีข้อมูลต่อเนื่องยาวนานที่สุด จึงเหมาะสำหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของระดับน้ำทะเลในระยะยาวต่อไป

กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ
ตุลาคม 2549
อ่าวประจวบ