กองบิน5

ความเป็นมากองบิน5

แรกบินในสยาม
    ความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องบินของพี่น้องตระกูลไรท์ ทำให้ความฝันเรื่องการบินของมนุษย์เป็นจริงขึ้นมา และได้รับความสนใจในฝั่งตะวันตกอย่างรวดเร็ว ในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว นายชาร์ล แวนเดน บอร์น (Charles Van Den Born) นักบินชาวเบลเยี่ยม ได้นำเอาเครื่องบินแบบ อังรี ฟาร์มัง 4(Henry Farman IV) มาแสดงที่สนามม้าสระประทุม ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2453 (ค.ศ.1911 *การเปลี่ยนคริสต์ศักราชเป็นพุทธศักราชก่อน พ.ศ.2484 ถือเอาเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกในการเริ่มต้นเปลี่ยน ดังนั้นวันที่ 31 มกราคม -6 กุมภาพันธ์ จึงยังอยู่ในปี พ.ศ.2453)

และเนื่องจากได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จึงทำการแสดงการบินเพิ่มเติมในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2453 อีกหนึ่งวัน นับเป็นการแสดงการบินครั้งแรกของเมืองไทย ในปีเดียวกันนั้นเอง จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้เสด็จไปยังยุโรป และทรงทราบถึงเรื่องการปรับปรุงการบินในฝรั่งเศส เมื่อเสด็จกลับพระนครจึงทรงมีรับสั่งกับนายพลเอก พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นในการมีกองกำลังเครื่องบิน ไว้ป้องกันประเทศ ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงได้มีดำริ จัดตั้งหน่วยบินขึ้น โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบก

ความเป็นมากองบิน5

วันที่ 2 พฤษจิกายน พ.ศ.2456 นายทหารไทยชุดแรกที่ไปทำการศึกษาวิชาการบิน ที่ประเทศฝรั่งเศสได้เดินทางกลับถึงเมืองไทย ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน กระทรงกลาโหมจึงได้จัดตั้งแผนกการบินทหารบกขึ้นที่สนามม้าสระประทุม มีเครื่องบินบรรจุครั้งแรก 8 เครื่อง ประกอบด้วยแบบเบรเกต์(Breguet) 4 เครื่อง และแบบนิเออปอรต์ (Nieuport) 4 เครื่อง หลังจากนั้นแผนกการบินทหารบก ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองบินทหารบก กรมอากาศยานทหารบก กรมอากาศยาน กรมทหารอากาศ และกองทัพอากาศ ตามลำดับ โดยเมื่อคราวที่ยกฐานะขึ้นเป็นกรมอากาศยานนั้น ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการใหม่ แบ่งออกเป็น 5 กองคือ
    กองโรงเรียนการบินเบื้องต้น
    กองโรงงานกรมอากาศยาน
    กองบินใหญ่ที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์
    กองบินใหญ่ที่ 2 ดอนเมือง
    กองบินใหญ่ที่ 3 นครราชสีมา

จากกองบินใหญ่ที่ 1 ถึงกองบิน 5 บนเนื้อที่ราว 4,000 ไร่ ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลด้านตะวันออก อาณาเขตทิศเหนือ เป็นอ่าวประจวบ ด้านทิศใต้เป็นอ่าวมะนาว และด้านตะวันตกเป็นตัวเมืองประจวบฯ "กองบินใหญ่ที่ 1" ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2465 โดยผู้บุกเบิก 2 ท่านคือ ร.อ.หลวงอมรศักดาวุธ และ ร.อ.กาพย์ ทัตตานนท์
กองบินใหญ่ที่ 1 มีวิวัฒนาการโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2468 เป็น โรงเรียนการยิงปืน
พ.ศ. 2469 เป็น โรงเรียนการบินที่ 2
พ.ศ. 2479 เป็น กองบินน้อยที่ 5
พ.ศ. 2506 เป็น กองบิน 5
พ.ศ. 2520 เป็น กองบิน 53
พ.ศ. 2535 เป็น กองบิน 53 กองพลบินที่ 4
พ.ศ. 2539 เป็น กองบิน 53 กองพลบินที่ 4 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ
พ.ศ. 2550 เป็น กองบิน 5 กองพลบินที่ 4 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ
พ.ศ. 2552 เป็น กองบิน 5

อาคารพิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์ กองบิน 5 อาคารประวัติสงคราม กองบิน5

ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์ กองบิน 5 และ อาคารประวัติสงคราม ได้แสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับวีรกรรม วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 prachuaptown.com จะขอลำดับเรื่องราวตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนะครับ อาจจะยาวสักหน่อยแต่ น่าศึกษามากครับ

กองบิน5

การเจรจาขอผ่านแดน
ราว 23 นาฬิกา ของวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2484 นายซูโบกามิ เอกอัคราชทูตญี่ปุ่นและคณะได้เดินทาง ไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แจ้งความประสงค์ว่า ญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงความเป็นหรือความตายกับ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีความตั้งใจที่จะโจมตีดินแดนของประเทศดังกล่าวในเวลา 1 นาฬิกาของวันที่ 8 ธันวาคม ต้องอาศัยดินแดนไทยเป็นทางผ่าน ผู้แทนไทยจึงได้แจ้งถึงภาวะที่ประกาศตนเป็นกลางของประเทศ และผู้ที่จะสั่งการ ให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งก็คือท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งไม่อยู่ ณ เวลานั้น

กองบิน5

โดยไม่รีรอต่อท่าทีขอรัฐบาลไทย กองกำลังญี่ปุ่นที่เตรียมการไว้อย่างพร้อมเพรียง ได้ตัดสินใจยกพลขึ้นบกที่ จังหวัดริมชายฝั่งทะเลไทย ในคืนวันที่ 7 และรุ่งสางของวันที่ 8 ธันวาคม และในบ่ายเดียวกันนั้นตามเวลาของไทย หรือรุ่งเช้าตามเวลาท้องถิ่นกองกำลังโจมตีแบบสายฟ้าแลบ ของจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้าโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ของอเมริกา รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในเช้าวันถัดมา

กองบิน5

7 นาฬิกาของวันที่ 8 ธันวาคม จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เดินทางถึงยังที่ประชุมและรับฟังรายงานเหตุการณ์จากทุกฝ่าย นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอให้พิจารณาทางได้ทางเสีย จึงได้ข้อสรุปว่าเราคงไม่มีทางต่อสู้แต่อย่างใด นายกรัฐมนตรีจังประกาศว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้าน หลังจากหารือรัฐบาลไทยจึงได้ลงนาม ในสัญญายินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านแดน โดยตกลงรับเงื่อนไขที่กองทัพญี่ปุ่นเสนอ หนึ่งในสามข้อคือ ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านประเทศไทยไปเท่านั้น

พ.ศ.2482 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ก่อตัวขึ้น
กองบิน5 กองบิน5 กองบิน5

รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายวางตัวเป็นกลาง ท่ามกลางไฟสงครามซึ่งแบ่งโลกออกเป็น 2 ฝ่าย

กองบิน5

วีรกรรมวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484

สงครามมหาเอเชียบูรพาก็อุบัติขึ้น ประเทศไทยคือ หนึ่งในที่หมายของการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่น เพื่อไปโจมตีทหารอังกฤษในพม่าและมลายู

กองบิน5
กองบิน5

เข้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 ณ กองบินน้อยที่ 5 จ.ประจวบคีรีขันธ์ เรืออากาศตรี ศรีศักดิ์ สุจริตธรรม พร้อมทหารจำนวนหนึ่งออกไปหาปลาหน้าอ่าวมะนาว ได้พบเรือยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นจำนวน 3 ลำมุ่งหน้าเข้ามาเพื่อยึดกองบินน้อยที่5 ทหารไทยจำนวนเพียง 100 คนเศษ ตัดสินใจต่อกรกับทหารลูกพระอาทิตย์ซึ่งยังประมาณจำนวนมิได้

กองบิน5 กองบิน5 กองบิน5

ในเวลาเดียวกันภายในเมืองประจวบคีรีขันธ์ ทหารญี่ปุ่นยกพลขั้นที่อ่าวประจวบญี่ปุ่นส่งกองกำลังเข้ายึดพื้นที่ 3 ทาง คือ ศาลากลางจังหวัด รวมถึงสถานีตำรวจและสถานีรถไฟ แล้วกระจายกำลังไปทั่ว เสียงปืนดังกึกก้อง ทางด้านกองบินน้อยที่ 5 กำลังพลของทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนตัวเข้าทางด้านอ่าวประจวบ และทางด้านอ่าวมะนาว ยึดพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เกิดการตะลุมบอนต่อสู้กันด้วยดาบปลายปืน ทหารญี่ปุ่นหมายจะยึดกองบินน้อยที่ 5 เป็นที่มั่น กำลังรบทางภาคพื้นอากาศของฝูงกองบินน้อยที่ 5 ได้รับคำสั่งให้นำเครื่องบินขึ้นต่อต้านการบุกรุกของญี่ปุ่น และสนับสนุนกำลังรบภาคพื้นดิน

น.ต.ม.ล. ประวาศ ชุมสาย กองบิน 5

บ่ายวันที่ 8 นั้นเอง น.ต.ม.ล. ประวาศ ชุมสาย ผู้บังคับการกองบินน้อยที่ 5 ก็ได้มีคำสั่งให้เผาคลังน้ำมัน และหมวดเสนารักษ์ เพื่อป้องกันมิให้ญี่ปุ่นยึดเป็นที่มั่นได้ภายหลัง เสียงปืนยังคงดังต่อเนื่องมาจนกระทั่งการสู้รบยุติลงเมื่อได้รับข้อความจากรัฐบาลให้ยุติการรบและยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนพลผ่านดินแดนไป ในเวลาราวเที่ยงวันของวันที่ 9 ธันวาคม

กองบิน 5 อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิต กองบิน 5 อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิต กองบิน 5
บริเวณที่ฝังร่างของวีรชน

เมื่อสำรวจความเสียหายหลังการสู้รบ พบว่าฝ่ายไทยมีทหารอากาศเสียชีวิต 38 นาย ตำรวจ 1 นาย ยุวชนทหาร 1 นาย และครอบครัวทหาร 2 คน ดังนี้

พ.อ.อ.ผิว เทียนถม
พ.อ.อ.พงษ์ คงกลิ่น
พ.อ.อ.พูล แก้วกรกฏ ร.ท.จำเนียร วารียะกุล
พ.อ.อ.ประสิทธิ์ สุขประไพ พ.อ.อ.มณี นาคพวง
ร.ต.มณฑล บุษยกนิตฐ์ พ.อ.อ.เอื้อน คีรีศรี
ร.ต.สถาน วัฒนกุล พ.อ.อ.ย้อย ชูชื่น
ร.ท.สถิต โลหิตโยธิน ร.ท.หาญ เจริญสัตย์
ร.ต.บุญเชิด จรรยาพงษ์ พ.อ.อ.สมบุญ แซ่ซึ้ง
พ.อ.อ.ครอง เกตุทอง ร.ต.ก่อเกื้อ ยอดมิ่ง
ร.ท.พรม ชูวงษ์ ร.ท.ตาบ สมจิตร์
พ.อ.อ.จอเชียว รบอาจ พ.อ.อ.ไสว เกิดมั่ง
พ.อ.อ.บุญยิ่ง ศิริเสถียร(ยุวชนทหาร) พ.อ.อ.จรูญ จาบทอง
ร.ต.นรชาติ ศิริโสภา พ.อ.อ.พิว นาเมือง
พ.อ.อ.สนิท นิลงาม พ.อ.อ.ชู แก้วอ่วม
พ.อ.อ.หย่อน ไกรสี พ.อ.อ.สะอิ้ง ทองสุข
พ.อ.อ.ไสว หยงเฮง ร.ท.บุญมั่น สิโลปมา
พ.อ.อ.ช่อ หนูสุวรรณ พ.อ.อ.อิ้น เจริญจิตต์
ร.ท.ทบ แก้วมงกฏ พ.อ.อ.เอื้อน เจริญยศ
พ.อ.อ.เขย สาดสาร พ.อ.อ.เซ้ง แซ่ห่อ
ร.ท.นาค ปานยิ้ม พ.อ.อ.ผล ห่วงมาก
พ.อ.อ.กง อยู่คง  

ในขณะที่กองกำลังผู้รุกรานซึ่งมีความพร้อมและจำนวนมากกว่าเสียชีวิต 217 นาย บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีกมากกว่า 100 นาย
ที่ลงนามสงบศึก

จุดลงนามสงบศึกวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2484 หลังการสู้รบเป็นเวลา 33 ชั่วโมงยุติลงทหารทั้งสองฝ่ายยืนเรียงแถว เพื่อแลกเปลี่ยนดาบปลายปืนกับดาบซามูไร จากนั้นจึงลงนามในสัญญาสงบศึก ณ ที่แห่งนี้

ภายหลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น รัฐบาลไทยได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการยกพลขึ้นบกไปยังประเทศพม่าและมลายู เพื่อทำการรบกับทหารอังกฤษ วีรกรรมในครั้งนี้ได้ประกาศเกียรติ์ให้เกริกไกรว่า คนไทยมีความสมัครสมานสามัคคีและรักชาติยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมดเมื่อถึงคราวคับขันก็ปกป้องอธิปไตย โดยไม่คำนึงถึงแม้ชีวิตของตนเอง

อนุสาวรีย์วีรชน 8 ธ.ค. 84 อนุสาวรีย์วีรชน 8 ธ.ค. 84

ดังนั้นทุกๆวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี กองบิน 5 จึงได้มีการจัดพิธีระลึกถึงวีรกรรมปกป้องมาตุภูมิเมื่อปี พ.ศ.2484 เพื่อย้ำเตือนถึงความกล้าหาญของเหล่าวีรชน และความโหดร้ายของสงครามซึ่งหวังว่าจะไม่เกิดขึ้นอีกบนผืนดินไทย

แท่งหินแกะสลัก กองบิน5 แท่งหินแกะสลัก กองบิน5

หินแกะสลักด้านหนึ่งแสดง เหตุการณ์ ขณะสู้รบ หินแกะสลักอีกด้านแสดงเหตุการณ์ ลงนามในสัญญาสงบศึก

กองบิน5อนุสาวรีย์วีรชน 8 ธ.ค. 84แท่งหินแกะสลัก กองบิน5 วีรกรรม กองบิน5