ด่านสิงขร

ด่านสิงขร
ในอดีต

ด่านสิงขร เป็นเส้นทางคมนาคมข้ามผ่านแผ่นดินคาบสมุทร จากชายฝั่งทะเลด้านหนึ่ง ไปยังชายฝั่งทะเลอีกด้านหนึ่ง เรียกว่าเส้นทางข้ามคาบสมุทร เป็นที่นิยมของนักเดินทางค้าขายทางทะเล ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอ้อมไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งอาจมีอุปสรรคในการเดินทาง ที่มีผลจากสภาพอากาศหรือโจรสลัด

ด่านสิงขร
ชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านมีท่าเรือสะดวกในการจอดพักของเรือเดินสมุทร มีความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าไปตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร ซึ่งอาจเป็นทางบกหรือทางน้ำร่วมกัน รวมถึงความปลอดภัยและบริการที่ดึงดูด ให้นักเดินเรือค้าขายทางทะเลจากภูมิภาคต่างๆ
ด่านสิงขร
เส้นทางข้ามคาบสมุทรมีความสำคัญทั้งในด้านการค้าและด้านยุทธศาสตร์ จึงเป็นที่เฝ้ามองของนานาชาติมาโดยตลอด เส้นทางข้ามคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหลายแนว ที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ "เส้นทางข้ามคาบสมุทรช่องสิงขร" เป็นเส้นทางระหว่างทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านช่องสิงขรและเมืองตะนาวศรีไปยังเมืองท่ามะริดบนฝั่งทะเลอันดามัน ที่ปากแม่น้ำตะนาวศรี เป็นเส้นทางคมนาคมที่มีความสำคัญในทางการค้าระหว่างประเทศตะวันตกและประเทศตะวันออก โดยเฉพาะจีนและอินเดียมายาวนานนับพันปี โดยมีเมืองตะนาวศรีซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำตะนาวศรีเป็นเมืองหลัก บนเส้นทางข้ามคาบสมุทร ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ ๗๐ กิโลเมตร เรือเดินทะเลสามารถเดินทางเข้าออกตามแม่น้ำตะนาวศรี และจอดเทียบท่าได้ที่หน้าเมือง
เมืองตะนาวศรีมีความสำคัญเป็นเมืองท่าค้าขาย มีกำแพงเมือง-คูเมืองป้องกันและกำลังทหารคุ้มครองเส้นทางข้ามคาบสมุทร และเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญติดต่อกับประเทศในยุโรป ซึ่งทำความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระนครศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
จนถึง พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกทัพลงมาทางใต้เข้ายึดเมืองทะวาย เมืองมะริด และเมืองตะนาวศรี และได้ใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรเดินทัพผ่านช่องสิงขรมายังฝั่งทะเลอ่าวไทยที่บริเวณอ่าวหว้าขาว (ห่างจากอ่าวประจวบคีรีขันธ์ไปทางเหนือประมาณ ๑๐ กิโลเมตร) ซึ่งเป็นทางเดินระหว่างภูเขากับทะเล แต่ได้ถูกทหารกองกำลังอาทมาต โดยการนำของขุนรองปลัดชู (ชาววิเศษชัยชาญ) จำนวน ๔๐๐ คน เข้าซุ่มโจมตีสร้างความเสียหายแก่กองทัพพม่าหลายครั้งหลายครา แต่ด้วยกำลังที่น้อยกว่าได้ถูกกองทัพพม่าโอบล้อมต้อนตกทะเล และถูกฆ่าตายจนหมดสิ้น นับเป็นวีรกรรมไทยรบพม่าที่สำคัญครั้งหนึ่งเพื่อรักษาแผ่นดินคาบสมุทรแห่งนี้ให้คงไว้เป็นของไทย
หนังสือจากห้วงอวกาศฯอธิบายว่า ในครั้งนั้นเป็นช่วงเวลาที่ความเจริญของไทยเริ่มถดถอยจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายใน พ.ศ. ๒๓๑๐ แต่ต่อมาได้สร้างความเข้มแข็งใหม่จนสามารถขับไล่พม่าออกไปจากผืนแผ่นดินไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศในยุโรปได้เข้ายึดดินแดนต่างๆ ในบริเวณคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอังกฤษเข้าครอบครองมาเลเซียและพม่า ส่วนฝรั่งเศสเข้าครอบครองลาว เขมร และเวียดนาม คงเหลือประเทศไทยที่ยังสามารถรักษาความเป็นอิสรภาพไว้ได้
การสูญเสียอำนาจทางการเมืองของคนในท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในดินแดนคาบสมุทรแห่งนี้ ส่งผลให้เส้นทางข้ามคาบสมุทรต้องปิดตัวลงแต่ครั้งนั้น
จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อญี่ปุ่นยกคนขึ้นบกเข้ายึดเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และเกิด"วีรกรรมอ่าวมะนาว" อันเป็นเหตุการณ์ที่คนไทยลุกขึ้นต่อสู้เพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้
หลังจากนั้นญี่ปุ่นได้สร้างถนนยุทธศาสตร์ข้ามคาบสมุทรช่องสิงขรจากฝั่งอ่าวไทย ที่เมืองประจวบคีรีขันธ์ไปยังฝั่งทะเลอันดามันที่เมืองมะริด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เส้นทางข้ามคาบสมุทรนี้ก็ปิดตัวลงอีกตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ควรให้ความสำคัญด่านสิงขรในแง่ประวัติศาสตร์เส้นทางข้ามคาบสมุทรของสุวรรณภูมิ ที่มีความสำคัญสืบเนื่องตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิ ราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ถึงยุคกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จะส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวมีภูมิสังคมวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนและยาวนานถึงลูกหลานไม่มีสิ้นสุด คัดลอกบางส่วนของบทความมาจาก http://board.dmr.go.th/news_dmr/data/1365.html
ในปัจจุบัน
ด่านสิงขร ได้กลายเป็นจุดผ่อนปรนทางการค้า ระหว่างชายแดนไทยและพม่า จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของคนไทยและคนพม่า สินค้าที่มีจำหน่ายได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลักซึ่งเป็นงานฝีมือ เหมาะสำหรับเป็นของใช้และตกแต่งบ้าน ต้นไม้ต่างๆ รวมถึงเครื่องประดับที่ทำจากหินและพลอยหลากชนิด
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
นอกจากนั้น ในช่วงเช้าของวันเสาร์ จะมีการเปิดด่านให้ มีการค้าขายระหว่างเพื่อนบ้านของเรา โดยจะมีสินค้าพื้นบ้านต่างๆเข้ามาค้าขาย ให้เลือกซื้อ หรือเดินดูวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการต่างๆ เช่นภาษา และการแต่งกาย
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการจัดงานขึ้นบริเวณด่านสิงขร มีการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะในช่วงสงกรานต์ จะมีการเปิดด่านให้นักท่องเที่ยว ได้เข้าไปในส่วนของหมู่บ้านบูด่อง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เพื่อดูวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของหมู่บ้านชายแดน โดยมีรถสองแถวให้บริการนักท่องเที่ยว
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
PrachuapTown ของเราก็ได้หามุม ที่คุณไม่เคยเห็นมาให้ชมกันอีก นั่นก็คือ "ศูนย์ฝึกอาชีพการคิดแยกและเจียระไนพลอย" มาให้ชมกันครับ โดยศูนย์นี้จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ก่อนถึงทางลงสู่จุดผ่านแดน ต้องเข้าซอยไปนิดหน่อย
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
ด่านสิงขร
และป้ายบอกว่า แคบสุดในสยาม แต่จากการหาของมูลจากแหล่งต่างๆ และการเทียบดูจากแผนที่จากดาวเทียม รู้สึกว่าตรงบริเวณนี้จะไม่ใช่ส่วนที่แคบที่สุดของประเทศนะครับ

แต่ส่วนที่แคบที่สุดจะอยู่ที่ตำบลห้วยทรายซึ่งวัดระยะได้ 10.96 กิโลเมตร วัดตามแนวจากสันปันน้ำของทิวเขาตะนาวศรีจนถึงฝั่งทะเล ตามแนวที่ตัดผ่านหลักกิโลเมตร 340.4 บนถนนเพชรเกษม ซึ่งบริเวณนั้นก็จะมีป้ายบอกเช่นกันว่าแคบที่สุดของประเทศ

ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยไว้ด้วยนะครับแล้วเราจะนำภาพป้ายอีกที่หนึ่งที่ตำบลห้วยทรายมาให้ดูกันภายหลังนะครับ
แต่ถึงแม้ว่าด่านสิงขรจะไม่ใช่จุดที่แคบสุดของประเทศ แต่ว่าในฐานะของเส้นทางข้ามคาบสมุทธนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่า
วีรกรรมของกองอาทมาต โดยการนำของขุนรองปลัดชู 400 คน กับการต่อสู้กับกองทัพ 8,000 คน
อีกทั้งวีรกรรมอ่าวมะนาว เกิดขึ้นเพราะความสำคัญของเส้นทางข้ามคาบสมุทธนี่เอง ซึ่ง ทำให้เห็นถึงความเสียสละ และความรักในประเทศชาติ ของคนในสมัยก่อน ที่น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา